เทคนิคการแพทย์

การฝังเข็มรักษาโรค

Lifestyle

หนึ่งในการรักษาสุขภาพร่างกายด้วยแพทย์แผนโบราณที่เรามักจะคุณชินและเคยได้ยินได้เห็นกันนั้นก็คือ “การฝังเข็มรักษาโรค” นั้นเองครับ ซึ่งในบทความนี้จะพาทุกๆ ท่านไปทำความรู้จักกับ “การฝังเข็ม” ว่ามีต้นกำเนิดเป็นอย่างไร? สามารถช่วยนเรื่องอะไรได้บ้าง? ให้กับทุกๆ ท่านได้เป็นทางเลือกและความรู้กันครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลาเราไปดูกันดีกว่าครับ

ความเป็นมาของการ ฝังเข็ม

วิชาฝังเข็มมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ อันยาวนานนับพันปี จากหลักฐานทางโบราณคดียุคหินใหม่ ที่ขุดค้นพบเข็มที่ฝนมาจากแท่งหิน ในลักษณะ รูปร่างต่าง ๆ เช่น เข็มกลม เข็มสามเหลี่ยม และเข็ม รูปร่างคล้ายมีดสั้นนั้น ทำให้เป็นที่ยอมรับว่า การฝังเข็มมีต้นกำเนิดมาจากสังคมบุรพากาลจีนมาเป็นเวลายาวนาน ไม่ต่ำกว่า 4 พันปีมาแล้ว สันนิษฐานว่ามนุษย์ เรารู้จักนำเอาเข็มมาใช้รักษาโรค

การฝังเข็มเป็นอย่างไร?

การฝังเข็ม คือ การแทงเข็มลงไปบนจุดฝังเข็มตามร่างกายโดยใช้หลักการรักษาของแพทย์แผนจีน โดยเข็มที่ใช้จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดเล็กกว่าเข็มฉีดยา จึงทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บเพียงเล็กน้อย และเป็นเข็มปลอดเชื้อแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ผู้ป่วยจึงปลอดภัยจากการติดเชื้อ โดยการฝังเข็มรักษาโรคได้นั้นในปัจจุบันมีการศึกษาพบว่า “การฝังเข็มทำให้เกิดการหลั่งของสารชีวเคมีในร่างกายเพิ่มขึ้น มากกว่า 35 ชนิด” แล้วแต่ตำแหน่งที่ใช้ฝังเข็ม ซึ่งจะมีผลต่อร่างกายในแง่ช่วยระงับอาการเจ็บปวด ลดการอักเสบ เพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงเฉพาะที่ ปรับระดับไขมันและสารเคมีอื่น ๆ ในร่างกายให้อยู่ในสภาพสมดุล รวมทั้งเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย

การฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง?

●กลุ่มอาการปวดต่าง ๆ เช่น ปวดหลัง ปวดเข่า ปวดเอว ปวดไหล่ ปวดคอ

●อาการปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก ปวดประจำเดือน

●โรคซึมเศร้า วิตกกังวล นอนไม่หลับ ปวดศีรษะจากความเครียด ปวดไมเกรน โดยร่วมกับการทำจิตบำบัด

●เลิกยาเสพติด อดบุหรี่ ลดความอ้วน โดยร่วมกับการทำพฤติกรรมบำบัด

●อัมพาต อัมพฤกษ์ โดยร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพ

●โรคภูมิแพ้ หืดหอบ และผื่นคันตามร่างกาย

การจะรับการรักษาด้วยการฝังเข็มจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

การรับการฝังเข็มนั้น เราควรจะพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่อ่อนเพลีย ต้องไม่รู้สึกไม่หิวหรือกินอิ่มเกินไป พยายามสวมเสื้อผ้าที่ไม่รัดแน่น สามารถรูดขึ้นเหนือศอกและเหนือเข่าได้และต้องไม่มีโรคที่เป็นข้อห้ามในการฝังเข็มในขณะฝังเข็มถ้ามีอาการผิดปกติให้รีบแจ้งแพทย์ทันทีเพื่อป้องกันอันตรายต่างๆ ด้วย

แล้วการฝังเข็มเหมาะสมกับใครบ้าง?

– เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ต้องการรับการรักษาด้วยการใช้ยาซึ่งเป็นการเพิ่มสารเคมีจากภายนอกเข้าสู่ร่างกาย

– ผู้ป่วยที่มีประวัติการแพ้ยาหลาย ๆ ชนิด

– ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวหลายอย่าง เพื่อหลีกเลี่ยงการทำปฏิกิริยาต่อกันของยา

– ผู้ป่วยที่มีปัญหาหยุดยาที่ใช้รักษาโรคไม่ได้ เช่น ยานอนหลับ ยาแก้ปวด ยาระบาย เป็นต้น

– ผู้ป่วยที่ต้องการรับการรักษาแบบผสมผสานระหว่างการแพทย์แผนตะวันตกกับการฝังเข็ม

– ผู้ที่ต้องการเสริมสร้างสุขภาพโดยการปรับสมดุลภายในร่างกาย

โรคที่เป็นข้อห้ามในการฝังเข็ม

1.โรคเลือดที่มีความผิดปกติของระบบแข็งตัวของเลือด

2.โรคที่ต้องการรักษาด้วยการผ่าตัดอย่างแน่นอน

3.ขณะตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันอันตรายต่อแม่และเด็กในท้อง

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับการ “ฝังเข็ม” เพื่อรักษาโรคที่เป็นแพทย์แผนโบราณที่เราได้นำมาฝากทุกๆ ท่านกันในวันนี้ เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกๆ ท่านที่สนใจในเรื่องราวของการ “ฝังเข็ม” นี้ครับ ขอให้ทุกๆ ท่านศึกษาและตัดสินใจให้ดีๆ ก่อนรับการรักษานะครับผม