แพทย์เฉพาะทาง

หมอเฉพาะทางแบ่งออกเป็นด้านใดบ้าง?

แพทย์เป็นอาชีพที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการดูแลรักษาสุขภาพของเราทุกคน ซึ่งปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพนั้น มีมากมายหลายแขนง หลายโรคเลยหล่ะครับ วันนี้เราจะพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “หมอหรือ แพทย์เฉพาะทาง” ที่มีหลากหลายด้าน บทความนี้จะพาทุกๆ ท่านไปสำรวจกันครับว่า “แพทย์เฉพาะทางด้านต่างๆ ” ที่น่าสนในกันครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปชมกันเล้ยย !!! แพทย์เฉพาะทาง หมายถึงอะไร? การแพทย์เฉพาะทาง เป็นสาขาย่อยของวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งหลังจากนักศึกษาแพทย์สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตจากโรงเรียนแพทย์ แพทย์ที่เรียนจบอาจเลือกศึกษาต่อในสาขาเฉพาะทางโดยสมัครเป็นแพทย์ประจำบ้านตามสถาบันที่เปิดรับสมัคร และหลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้เป็น แพทย์เฉพาะทาง (Medical specialist) ในสาขาที่ศึกษามา 5 สาขายอดนิยมของแพทย์เฉพาะทาง ศัลยแพทย์หัวใจ (Cardiac Surgeon) เรียนเกี่ยวกับความผิดปกติของหัวใจ วินิจฉัย และทำการรักษาโรคเกี่ยวกับ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ภาวะหัวใจวาย และลิ้นหัวใจรั่ว เป็นต้น ด้วยความที่โรคหัวใจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันเป็นอันต้นๆ ของโลกค่ะ ทำให้แพทย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคหัวใจเป็นที่ต้องการมากขึ้นทุกวัน และมีรายได้เฉลี่ยต่อปีสูงมาเป็นอันต้นๆ ของบ้านเราเลย ศัลยศาสตร์ตกแต่ง (Plastic Surgery) ซึ่งก็ฮอตมากๆ ในปัจจุบัน เพราะคนเดี๋ยวนี้ก็เริ่มกล้าทำศัลยกรรมกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งแพทย์ด้านศัลยกรรมตกแต่งจะศึกษาในเรื่องความผิดปกติของรูปร่าง ผิวหนัง รวมทั้งระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างของร่างกายด้วย วิสัญญีแพทย์ (Anesthesiologist) ทำหน้าที่วางยาสลบ ยาชา บล็อกไขสันหลัง ฯลฯ เพื่อดูแลผู้ป่วยให้เกิดความเจ็บปวดน้อยที่สุดและปลอดภัยมากที่สุดระหว่างผ่าตัดและหลังจากผ่าตัด ซึ่งต้องทำงานร่วมกับแพทย์ผ่าตัดค่ะ สาขานี้ต้องวิเคราะห์และทำการเลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับเคสผ่าตัดและกายภาพของผู้ป่วย เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายถึงชีวิต จิตเวชศาสตร์ (Psychiatrist) หรือที่เรียกกันว่า “จิตแพทย์” เป็นเฉพาะทางด้านการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับอาการบกพร่องทางจิตจRead More…

หางานเทคนิคการแพทย์

มารู้จักกับนักเทคนิคการแพทย์ คืออะไร

เมื่อพูดถึงแพทย์ ทุกคนย่อมรู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่พอเป็นหางานเทคนิคการแพทย์หลายคนจะเริ่มงงแล้วว่าอะไรคือเทคนิคการแพทย์  มีด้วยหรือ มีคนจำนวนน้อยเท่านั้นที่รู้จักอาชีพนี้ ส่วนใหญ่ก็จะคิดว่าคงเป็นเหมือนแพทย์นั่นแหละ เพราะเห็นว่ามีแพทย์อยู่ด้วย สำหรับใครที่ยังไม่รู้ เราจะมาทำความรู้จักไปพร้อม ๆ กันเดี๋ยวนี้เลย  หน้าที่หลักของนักเทคนิคการแพทย์  สำหรับหน้าที่หลักของนักเทคนิคการแพทย์ ที่เราอาจสังเกตให้ได้ก็คือ จะทำหน้าที่ในการตรวจสิ่งต่าง ๆ ของคนไข้ อย่างเช่นการตรวจเลือด ตรวจเสมหะ ตรวจสารคัดหลั่งในร่างกาย การตรวจเหล่านี้จะเป็นนักเทคนิคการแพทย์เป็นคนทำ แต่ส่วนใหญ่เราอาจจะไม่ได้เห็นบ่อยมากนัก เพราะว่านักเทคนิคการแพทย์มักจะอยู่ในห้องแล็บทดลอง และทำการตรวจอยู่ในนั้น ไม่ได้ออกมาพบปะคนไข้บ่อยเหมือนกับหมอหรือพยาบาล  อยากเรียนเทคนิคการแพทย์ ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง  สำหรับนักเรียน ม.ปลายคนใดที่ต้องการอยากจะศึกษาต่อในด้านเทคนิคการแพทย์ ลองมาดูกันก่อนว่าผู้ที่จะเรียนในสาขานี้ ต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้นำมาใช้พิจารณาตัวเรา ว่าเหมาะสมกับคณะนี้หรือไม่ คุณสมบัติที่ต้องมีได้แก่  1.เกรดดีพอสมควร  ผู้ที่จะเรียนเทคนิคการแพทย์ ต้องเรียนจบมาจากสายวิทย์-คณิต เท่านั้นจึงจะเข้าเรียนในสาขาเทคนิคการแพทย์ด้วย และที่สำคัญเกรดก็ต้องสูงพอสมควร อาจจะสามปลายๆ จึงจะเข้าไปอย่างสบาย   2.เป็นคนชอบการเรียนรู้  เพราะงานเกี่ยวกับการแพทย์ มีอะไรใหม่ๆ มาให้เห็นอยู่เสมอ และเทคโนโลยีเกี่ยวกับการแพทย์ก็ไม่เคยหยุดนิ่ง ฉะนั้นผู้ที่จะหางานเทคนิคการแพทย์ต้องเป็นผู้ที่มีความรักในการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อนำความรู้เหล่านั้นมาประยุกต์ใช้กับงานในปัจจุบัน ให้มีความก้าวหน้ากว่าเดิม  3.ร่างกายแข็งแรง  ผู้ที่จะเรียนด้านการแทพย์ หรือว่าเรียนสาขาใด ๆ ด้านที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล จะต้องเป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง ร่างกายสมบูรณ์ ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงทุกชนิด เพื่อให้การรักษาพยาบาลมีประสRead More…

Hangover

หมดปัญหาอาการเมาค้างจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ด้วยวิธีแก้แฮงค์จากเครื่องดื่มชนิดอื่น

         งานสังสรรค์เป็นสิ่งที่ใคร ๆ ต่างก็ชื่นชอบเพราะเป็นช่วงเวลาที่ได้ผ่อนคลายจากงานและความเครียดที่ต้องเจอมา โดยแต่ละคนอาจจะมีวิธีจัดปาร์ตี้ที่แตกต่างกันไปไม่ว่าจะแบบ ปาร์ตี้ปิ้งย่าง, ชาบู หรือชวนเพื่อนรู้ใจหรือคนรักมานอนดูซีรี่ย์ด้วยกัน โดยทุกการสังสรรค์จะมีเครื่องดื่มที่นิยมเป็นอย่างมาก คือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่แทบจะขาดไม่ได้เลยในการสังสรรค์ไม่ว่าจะเป็น เหล้า, เบียร์, ไวน์ แต่สิ่งที่ต้องเจอหลังจากความสนุกคือความทรมานหลังการดื่มหรือที่เราเรียกกันว่า “อาการแฮงค์” ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกันหากดื่มในปริมาณมากจนเกินไป อาการล้า อ่อนเพลีย ปวดหัว คลื่นไส้ ต่างก็เป็นอาการที่นักดื่มต่างก็ต้องเคยเผชิญมาแล้วด้วยกันทั้งนั้น          สาเหตุที่ทำให้เราเกิดอาการแฮงค์นั้น จะสังเกตได้ว่าขณะที่เราดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปได้สักพักร่างกายจะมีการขับน้ำออกมาผ่านการปัสสาวะอยู่เรื่อย ๆ เพราะฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะไปกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนในร่างกายที่ชื่อว่า “วาโซเพรสซิน” (Vasopressin) ที่มีหน้าที่กักเก็บน้ำในร่างกายให้คลายการทำงานจนเราปัสสาวะบ่อย พร้อมกับร่างกายที่เกิดอาการหัวใจเริ่มเต้นแรงขึ้น การตอบสนองช้าลงนั่นแสดงให้เห็นว่าคุณอยู่ในอาการ “เมา” แล้วนั่นเอง ยิ่งดื่มมากอาการก็จะหนักขึ้นตามระดับ แต่สิ่งที่ต้องเจอหลังจากฟื้นจากอาการเมา คือ ความทรมานของร่างกายที่ทำงานอย่างหนัก หลังปริมานแอลกอฮอล์ในร่างกายลดลงจะเกิดความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย กระหายน้ำ ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง รวมถึงอารมณ์จะแปรปรวนได้ง่าย รวม ๆ ดูแล้วช่างน่าทรมานเหลือเกิน แต่ใช่ว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะไม่สามารถทำได้ เพราะมีการคิดค้นวิธีที่จะแก้ปัญหาอาการที่ว่านี้เพื่อให้สามารถเริ่มต้นวันใหม่ในการทำงานได้แบบไร้กังวล เราจึงขอเสนอวิธีแก้แฮงค์ด้วยเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ ที่มีสรรพคุณฟื้นฟูร่างกายได้ดีและมีคุณประโยชน์โดยไม่ต้องพึ่งยาหรือวิธีอื่น ๆ ที่ยุ่งยากให้คุณได้เลือกพิจารณาเลือกกัน วิธีแก้แฮงRead More…