โรงพยาบาล

องค์ประกอบของโรงพยาบาลเป็นอย่างไร

Lifestyle

ขอต้อนรับเข้าสู่ปี 2024 กันนะครับทุกๆ ท่านปีใหม่ทั้งที่ก็คงอยากที่จะได้อะไรที่ดีและสิ่งใหม่ๆ ที่เหมาะกับเรา อะไรที่ผ่านมาแล้วก็ปล่อยไปให้เป็นบทเรียน เช่นเดียวกันกับเรื่องของการรักษาสุขภาพของเรา ท่านทราบเกี่ยวกับโครงสร้างหรือองค์ประกอบของโรงพยาบาลกันหรือไม่ครับ วันนี้เราจะพาทุกๆ ท่านไปหาความรู้เกี่ยวกับ “องค์ประกอบของโรงพยาบาลเป็นอย่างไร” กันครับว่าแบ่งกันอย่างไร เพื่อเป็นการไม่เสียเวลาเราไปชมกันเล้ยย

นิยามของ “โรงพยาบาล”

โรงพยาบาล หรือ สถานพยาบาล หรือ ศูนย์การแพทย์ เป็นสถานที่สำหรับให้บริการด้านสุขภาพให้กับผู้ป่วย โดยมักที่จะมุ่งเน้นการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูภาวะความเจ็บป่วย หรือโรคต่าง ๆ ทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ โดยปัจจุบันโรงพยาบาลได้ถูกแบ่งประเภทตามการดูแลควบคุมบริการเป็น โรงพยาบาลรัฐบาลและโรงพยาบาลเอกชน นอกจากนี้โรงพยาบาลยังถูกแบ่งเป็นสถานพยาบาลเฉพาะทางอีก เช่น สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, โรงพยาบาลสงฆ์, โรงพยาบาลตา, โรงพยาบาลฟัน, สถาบันโรคผิวหนัง

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบโรงพยาบาล

ระบบโรงพยาบาล หรือระบบจัดการโรงพยาบาล Hospital Management System (HMS) เป็นระบบที่ทำงานอยู่บนเว็บไซต์หรือ ซอฟต์แวร์บน Cloud ที่ได้รับการออกแบบมาสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุกแผนกในโรงพยาบาลเอาไว้ เพื่อช่วยให้กระบวนการทำงานของแต่ละฝ่ายในโรงพยาบาล สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติ ไปในทิศทางเดียวกัน และสื่อสารกันอย่างเข้าใจ

โดยระบบ HMS จัดทำขึ้นมาเพื่อช่วยในการประสานงานกับบุคลากรทุกฝ่ายในโรงพยาบาล การสื่อสารกับแพทย์ รวมถึงมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบ ระหว่างบุคลากรให้สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลของผู้ป่วย หรือข้อมูลส่วนตัวที่มีความสำคัญ ซึ่งระบบ HMS จะช่วยในการรักษาข้อมูลเหล่านี้ให้มีความปลอดภัยอยู่เสมอ ตัวอย่างการทำงานของระบบ HMS ได้แก่

  • เก็บรักษาระบบเวชระเบียนของผู้ป่วยให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EMR (Electronic Medical Record)
  • เก็บรักษารายละเอียดการติดต่อกับผู้ป่วย
  • ติดตามวันนัดหมาย
  • จัดเก็บข้อมูลประกันภัย เพื่อใช้ในการอ้างอิงในครั้งถัดไปที่ผู้ป่วยกลับมาใช้บริการ
  • ติดตามการจ่ายบิล

ทำความรู้จักกับ 6 แผนกต่างๆ ภายในโรงพยาบาล

1.แผนกผู้ป่วยใน (Inpatient Department)

เป็นแผนกที่ใช้สำหรับรองรับผู้ป่วยซึ่งแพทย์วินิจฉัยแล้วว่า ควรได้รับการรักษาและสังเกตอาการในโรงพยาบาลจนกว่าผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นแล้ว และสามารถกลับไปดูแลตัวเองที่บ้านได้

2.แผนกผู้ป่วยนอก (Outpatient Department)

เป็นแผนกที่ใช้สำหรับรองรับผู้ป่วยทั่วไปที่มาพบแพทย์ในแต่ละวัน สามารถแยกประเภทตามลักษณะของโรค ดังนี้

  • ห้องตรวจโรคทั่วไป
  • ห้องตรวจแผนกกระดูกและข้อ
  • ห้องตรวจกุมารเวช
  • ห้องตรวจแผนกอายุรกรรมโรคหัวใจ
  • ห้องตรวจแผนกจักษุกรรม
  • ห้องตรวจแผนกหู คอ จมูก  
  • ห้องตรวจแผนกสูตินรีเวช

จึงอาจกล่าวได้ว่า แผนกผู้ป่วยนอกเป็นแผนกในโรงพยาบาลที่มีคนจำนวนมากที่สุดก็ว่าได้

3.แผนกฉุกเฉินและอุบัติเหตุ (Emergency Room)

ประกอบไปด้วยห้องตรวจโรคทั่วไปและเวชปฏิบัติรวมถึงห้องผ่าตัดขนาดเล็ก ที่จะรองรับผู้ป่วยฉุกเฉินจากอุบัติเหตุต่างๆ หรืออาการจากโรคภัยไข้เจ็บที่ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

4.แผนกผู้ป่วยหนัก (Intensive Care Unit) หรือ ICU

เป็นแผนกในโรงพยาบาลอีกแผนกหนึ่งที่รองรับผู้ป่วยใน แต่เป็นผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยและพิจารณาแล้วว่า ควรได้รับการรักษาและสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดโดยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญทางการแพทย์

ทั้งนี้เพื่อป้องกันอาการเจ็บป่วยรุนแรงสุดวิสัยที่อาจจะเกิดขึ้นและผู้ป่วยจะได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนทันที

5.แผนกรังสี (Radiology Department)

เป็นแผนกที่ให้บริการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งมีเครื่องเอ็กซเรย์ทั่วไปที่ใช้รังสีเอ็กซเรย์พลังงานต่ำเพื่อถ่ายภาพอวัยวะส่วนต่างๆ ของผู้ป่วย เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ เครื่องเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องอัลตร้าซาวด์

เครื่องมือเหล่านี้มีความสำคัญอย่างมากเพราะจะช่วยให้แพทย์สาขาต่างๆ สามารถวินิจฉัยโรคต่างๆ ได้อย่างละเอียดและชัดเจนมากขึ้น

6.แผนกสูตินรีเวช (Obstretric – Gynecology Department)

เป็นแผนกที่ให้บริการดูแลผู้หญิงตั้งแต่วัยเจริญพันธุ์จนกระทั่งเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน สามารถแบ่งได้เป็นด้านสูติกรรมที่จะดูแลตั้งแต่การวางแผนครอบครัว ปัญหามีบุตรยากและการดูแลรับฝากครรภ์

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “องค์ประกอบของโรงพยาบาล” และแผนกต่างๆ ที่เราได้นำมาฝาก จริงๆ แล้วมีหลากหลากหลายแผนกมากกว่านี้อีกนะครับ หวังว่าจะเป็นข้อมูลคร่าวๆ ที่เป็นประโยชน์สำหรับทุกคนกันนะครับ