แพทย์เฉพาะทาง

หมอเฉพาะทางแบ่งออกเป็นด้านใดบ้าง?

My Blog

แพทย์เป็นอาชีพที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการดูแลรักษาสุขภาพของเราทุกคน ซึ่งปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพนั้น มีมากมายหลายแขนง หลายโรคเลยหล่ะครับ วันนี้เราจะพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “หมอหรือ แพทย์เฉพาะทาง” ที่มีหลากหลายด้าน บทความนี้จะพาทุกๆ ท่านไปสำรวจกันครับว่า “แพทย์เฉพาะทางด้านต่างๆ ” ที่น่าสนในกันครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปชมกันเล้ยย !!!

แพทย์เฉพาะทาง หมายถึงอะไร?

การแพทย์เฉพาะทาง เป็นสาขาย่อยของวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งหลังจากนักศึกษาแพทย์สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตจากโรงเรียนแพทย์ แพทย์ที่เรียนจบอาจเลือกศึกษาต่อในสาขาเฉพาะทางโดยสมัครเป็นแพทย์ประจำบ้านตามสถาบันที่เปิดรับสมัคร และหลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้เป็น แพทย์เฉพาะทาง (Medical specialist) ในสาขาที่ศึกษามา

5 สาขายอดนิยมของแพทย์เฉพาะทาง

  • ศัลยแพทย์หัวใจ (Cardiac Surgeon) เรียนเกี่ยวกับความผิดปกติของหัวใจ วินิจฉัย และทำการรักษาโรคเกี่ยวกับ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ภาวะหัวใจวาย และลิ้นหัวใจรั่ว เป็นต้น ด้วยความที่โรคหัวใจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันเป็นอันต้นๆ ของโลกค่ะ ทำให้แพทย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคหัวใจเป็นที่ต้องการมากขึ้นทุกวัน และมีรายได้เฉลี่ยต่อปีสูงมาเป็นอันต้นๆ ของบ้านเราเลย
  • ศัลยศาสตร์ตกแต่ง (Plastic Surgery) ซึ่งก็ฮอตมากๆ ในปัจจุบัน เพราะคนเดี๋ยวนี้ก็เริ่มกล้าทำศัลยกรรมกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งแพทย์ด้านศัลยกรรมตกแต่งจะศึกษาในเรื่องความผิดปกติของรูปร่าง ผิวหนัง รวมทั้งระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างของร่างกายด้วย
  • วิสัญญีแพทย์ (Anesthesiologist) ทำหน้าที่วางยาสลบ ยาชา บล็อกไขสันหลัง ฯลฯ เพื่อดูแลผู้ป่วยให้เกิดความเจ็บปวดน้อยที่สุดและปลอดภัยมากที่สุดระหว่างผ่าตัดและหลังจากผ่าตัด ซึ่งต้องทำงานร่วมกับแพทย์ผ่าตัดค่ะ สาขานี้ต้องวิเคราะห์และทำการเลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับเคสผ่าตัดและกายภาพของผู้ป่วย เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายถึงชีวิต
  • จิตเวชศาสตร์ (Psychiatrist) หรือที่เรียกกันว่า “จิตแพทย์” เป็นเฉพาะทางด้านการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับอาการบกพร่องทางจิตจากการทำงานของระบบประสาทของสมองมนุษย์ ง่ายๆ เลยคือเน้นรักษาโรคภายในจิตใจ และคาดว่าจะเป็นที่ต้องการมากในอนาคต เพราะตอนนี้คนมีเรื่องให้เครียดกันเยอะมากกกก บางคนซึมเศร้าจนฆ่าตัวตายก็เยอะ เรียกว่าเป็นสาขาแพทย์ที่ช่วยเหลือด้านจิตใจของคนเป็นหลัก
  • เวชศาสตร์ครอบครัว ​เป็นการแพทย์ที่อยู่ประจำคลินิกโรคทั่วไป หรือศูนย์สุขภาพใกล้บ้าน มีความเชี่ยวชาญและมีความรู้เฉพาะทางในด้านการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมให้กับคนทุกเพศทุกวัย

2 อันดับแพทย์เฉพาะทางที่ทำเงินมากที่สุด

ศัลยแพทย์หัวใจ

“โรคหัวใจ” เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของประชากรก่อนวัยอันควร มาเป็นอันต้นๆ ของโลกเลยก็ว่าได้ โดยมีผู้เสียชีวิตจากโลกหัวใจสูงขึ้นถึงปีละ 17 ล้านคนจากทั่วโลก และยังมีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปีด้วย จึงทำให้แพทย์ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคหัวใจเป็นที่ต้องการมากขึ้นทุกวัน ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการคือ “ศัลยแพทย์หัวใจ (Cardiac Surgeon)” หรือบางครั้งจะเรียกว่า “ศัลยแพทย์หัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Surgeons)”ก็ได้ โดยที่เป็นการแพทย์แขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับความผิดปกติของหัวใจ วินิจฉัย และทำการรักษา เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ภาวะหัวใจวาย และลิ้นหัวใจรั่ว เป็นต้น ดังนั้น แพทย์ทางด้านนี้จึงต้องมีความชำนาญเป็นพิเศษโดยเฉพาะเรื่องการผ่าตัด จึงทำให้แพทย์ทางด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดมีรายได้เฉลี่ยต่อปีสูงมาเป็นอันต้นๆ ของประเทศไทย

แพทย์กระดูก (Orthopedics)

ประเทศไทยจะมีชื่อเรียกศัลยแพทย์ในสาขานี้มากมายหลายชื่อด้วยกัน เช่น ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ แพทย์กระดูกและข้อ หรือหมอกระดูก เป็นต้น หรือจะเรียกสั้นว่า “หมอออร์โธฯ” ก็ได้ แพทย์ในสาขานี้จะต้องทำการวินิจฉัยความผิดปกติเกี่ยวกับกระดูก ข้อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “หมอเฉพาะทางแบ่งออกเป็นด้านใดบ้าง?” ที่เราได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ มาให้ทุกๆ ท่านได้อ่านกัน คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อยกันนะครับ