เทคนิคการแพทย์

เทคนิคการแพทย์เป็นอย่างไรกันนะ

ว่ากันด้วยเรื่องของสุขภาพและอาชีพที่เกี่ยวข้องนั้นมีมากมายหลายอย่าง แต่ที่หลายๆ ท่านจะคุ้นหูและสัมผัสกันมากที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นอาชีพเกี่ยวกับ “แพทย์” อย่างแน่นอนครับ แต่หลายๆ ท่านทราบกันหรือไม่ครับว่า… ยังมีอีกหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจที่ควรสนับสนุนอาชีพแพทย์ให้มีความก้าวหน้าอยู่ด้วยเช่นกัน วันนี้เราจะพาทุกๆ ท่านไปพบกับอาชีพ “เทคนิคการแพทย์เป็นอย่างไรกันนะ” กันสักหน่อยครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น…เราไปชมกันเล้ยย!! อาชีพนักเทคนิคการแพทย์คืออะไร? นักเทคนิคการแพทย์ก็คือคนที่คอยตรวจสิ่งส่งตรวจต่างๆ ของคนไข้ ไม่ว่าจะเป็น เลือด เสมหะ ปัสสาวะ สารคัดหลั่งต่างๆ และก็อีกหลายๆ อย่างเลย อีกทั้งยังรวมไปถึงการเจาะเลือดคนไข้ และการรับบริจาคโลหิตด้วย การทำงานในโรงพยาบาล ก็จะทำงานกันอยู่ในห้องแล็บและก็ห้องเจาะเลือด เป็นต้น ซึ่งการจะทำอาชีพนี้ต้องผ่านการเรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สุขภาพทั่วไป แต่จะไม่ลึกเท่าหมอ จะเน้นหนักไปที่พวก.. โลหิตวิทยา ธนาคารเลือด แบคทีเรีย ไวรัส เคมีคลินิก และภูมิคุ้มกัน ซึ่งในทุกๆ รายวิชาจะมีพาร์ตเลกเชอร์ ก็คือการนั่งเรียนฟังบรรยายในห้อง กับพาร์ตแล็บ เป็นการให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติกันจริงๆ เสมือนว่าเรากำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ในห้องแล็บของโรงพยาบาล นิยามของคำว่า “นักเทคนิกการแพทย์” “ นักเทคนิคการแพทย์ หรือ MT (Medical technologist) เป็นหนึ่งวิชาชีพสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่มีความสำคัญอย่างมาก มีหน้าที่ตรวจสอบตัวอย่างทางการแพทย์ โดยวิธีทางวิทยาศาสตร์และการรายงานผลการตรวจ เพื่อการพยากรณ์โรค วินิจฉัยโรค ติดตามการรักษา และการป้องกันโรค หรือเพื่อประเมินภาวะสุขภาพ ” นั้นเองครับ  ซึ่งจะเป็นงานที่คอยอยู่เบื้องหลัง ตรวจของเหลว สารคัดหลั่งของร่างกายผู้ป่วย เพื่อช่วยซัพพอร์ตคุณหมอ กว่าจะเป็น “นักเทคนิคการแพทย์” ปี 1 เรียนวิชาพื้นฐานทั่วไป เรียนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ แทบทุกวิชา เน้นการปูพื้นฐานให้แข็งแรงก่อนไปลงลึกเนื้อหาวิชาอื่น ๆ ในปีต่อไป ปี 2 ในปีนี้จะเริ่มเข้าสู่วิชาเฉพาะมากขึ้น เช่น พยาธิวิทRead More…

เทคนิคการแพทย์

การช๊อตไฟฟ้ากระตุ้นกล้ามเนื้อ

ในปัจจุบันการเทคโนโลยีทางการแพทย์มีการพัฒนาอย่างก้าวไกลเพื่อรักษาโรคต่างๆ ได้อย่างถูกจุดกันครับ ซึ่งต้องขอกล่าวเลยว่า..มีหลากหลายแนวทางการรักษากันเลยหล่ะครับ บทความนี้จะขอพาทุกๆ ท่านไปพบกับหนึ่งแนวทางการรักษาด้วยการ “การช๊อตไฟฟ้ากระตุ้นกล้ามเนื้อ” กันครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น เราไปศึกษาพร้อมกันๆ เล้ยย!! การรักษาด้วยการช๊อตหรือกระตุ้นไฟฟ้าเป็นอย่างไร? การกระตุ้นไฟฟ้า ES (Electrical Stimulations)  คือ กาใช้ไฟฟ้าซึ่งเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในทางกายภาพบำบัด ไฟฟ้าสามารถทำให้เกิดผลต่อเนื้อเยื้อต่างๆของร่างกายได้ โดยเฉพาะเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ทั้งนี้ขึ้นกับ ชนิดของกระแสไฟฟ้า ความเข้มของกระแสไฟฟ้า ความถี่ของกระแสไฟฟ้า ตำแหน่งหรือบริเวณที่ติดขั้วไฟฟ้า และขนาดขั้วไฟฟ้า เป็นต้น           ผลของการกระตุ้นไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องจะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของเส้นใยกล้ามเนื้อและเส้นประสาททั้ง ในระยะสั้น และระยะยาวโดยพบว่า การกระตุ้นไฟฟ้ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อในระดับเซลล์และโครงสร้างเซลล์ รวมถึงหน้าที่ของกล้ามเนื้อนั้นอีกด้วย  กลไลการรักษาด้วยการ “กระตุ้นไฟฟ้า” ทำอย่างไร? ตามปกติร่างกายของเราจะใช้โปรตีนในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย โดยโปรตีนจะถูกสังเคราะห์เพิ่มมากขึ้นเมื่อได้รับการกระตุ้นไฟฟ้า รวมทั้งประจุไอออน (เช่น Na+ , Ca++ , K+ ,Mg++) เมื่อถูกเหนี่ยวนำด้วยพลังงานไฟฟ้าจากภายนอก จะไปเร่งขบวนการเมตาบอลิซึม (Metabolism) และเร่งขบวนการลำเลียงสารอาหารเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งเส้นประสาทซึ่งตามปกติจะสามารถถูกเร้าต่อเมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่าน โดยเมื่อได้รับพลังงานไฟฟ้าจากภายนอก จะสามารถเร้าเส้นประสาทที่อยู่ส่วนปลายด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าผ่านผิวหนัง ทำให้เกิดการตอบสนองการตื่นตัวของเส้นประสาทได้ โดยทั้งนี้ขึ้นกับ ชนิดของกระแสไฟฟ้า ความเข้มของกระแสไฟฟ้า ความถี่ของกระแสไฟฟ้า ตำแหน่งหรือบริเวณที่ติดขั้วไฟฟ้า และขนาดขั้วไฟฟ้า เป็นต้น การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้าในเชิงการบำบัดรักษานั้น สามารถแบ่งออกเป็นกีRead More…

เทคนิคการแพทย์

การฝังเข็มรักษาโรค

หนึ่งในการรักษาสุขภาพร่างกายด้วยแพทย์แผนโบราณที่เรามักจะคุณชินและเคยได้ยินได้เห็นกันนั้นก็คือ “การฝังเข็มรักษาโรค” นั้นเองครับ ซึ่งในบทความนี้จะพาทุกๆ ท่านไปทำความรู้จักกับ “การฝังเข็ม” ว่ามีต้นกำเนิดเป็นอย่างไร? สามารถช่วยนเรื่องอะไรได้บ้าง? ให้กับทุกๆ ท่านได้เป็นทางเลือกและความรู้กันครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลาเราไปดูกันดีกว่าครับ ความเป็นมาของการ “ฝังเข็ม” วิชาฝังเข็มมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ อันยาวนานนับพันปี จากหลักฐานทางโบราณคดียุคหินใหม่ ที่ขุดค้นพบเข็มที่ฝนมาจากแท่งหิน ในลักษณะ รูปร่างต่าง ๆ เช่น เข็มกลม เข็มสามเหลี่ยม และเข็ม รูปร่างคล้ายมีดสั้นนั้น ทำให้เป็นที่ยอมรับว่า การฝังเข็มมีต้นกำเนิดมาจากสังคมบุรพากาลจีนมาเป็นเวลายาวนาน ไม่ต่ำกว่า 4 พันปีมาแล้ว สันนิษฐานว่ามนุษย์ เรารู้จักนำเอาเข็มมาใช้รักษาโรค การฝังเข็มเป็นอย่างไร? การฝังเข็ม คือ การแทงเข็มลงไปบนจุดฝังเข็มตามร่างกายโดยใช้หลักการรักษาของแพทย์แผนจีน โดยเข็มที่ใช้จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดเล็กกว่าเข็มฉีดยา จึงทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บเพียงเล็กน้อย และเป็นเข็มปลอดเชื้อแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ผู้ป่วยจึงปลอดภัยจากการติดเชื้อ โดยการฝังเข็มรักษาโรคได้นั้นในปัจจุบันมีการศึกษาพบว่า “การฝังเข็มทำให้เกิดการหลั่งของสารชีวเคมีในร่างกายเพิ่มขึ้น มากกว่า 35 ชนิด” แล้วแต่ตำแหน่งที่ใช้ฝังเข็ม ซึ่งจะมีผลต่อร่างกายในแง่ช่วยระงับอาการเจ็บปวด ลดการอักเสบ เพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงเฉพาะที่ ปรับระดับไขมันและสารเคมีอื่น ๆ ในร่างกายให้อยู่ในสภาพสมดุล รวมทั้งเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย การฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง? ●กลุ่มอาการปวดต่าง ๆ เช่น ปวดหลัง ปวดเข่า ปวดเอว ปวดไหล่ ปวดคอ ●อาการปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก ปวดประจำเดือน ●โรคซึมเศร้า วิตกกังวล นอนไม่หลับ ปวดศีรษะจากความเครียด ปวดไมเกรน โดยร่วมกับการทำจิตบำบัด ●เลิกยาเสพติด อดบุหรี่ ลดความอ้วน โดยร่วมกับการทำพฤติกรรมบำบัด ●อัมพาต อัมพฤกษ์ โดยร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพ ●โรคภูมิแพ้ หืดหRead More…