เทคนิคการแพทย์

การช๊อตไฟฟ้ากระตุ้นกล้ามเนื้อ

Lifestyle

ในปัจจุบันการเทคโนโลยีทางการแพทย์มีการพัฒนาอย่างก้าวไกลเพื่อรักษาโรคต่างๆ ได้อย่างถูกจุดกันครับ ซึ่งต้องขอกล่าวเลยว่า..มีหลากหลายแนวทางการรักษากันเลยหล่ะครับ บทความนี้จะขอพาทุกๆ ท่านไปพบกับหนึ่งแนวทางการรักษาด้วยการ “การช๊อตไฟฟ้ากระตุ้นกล้ามเนื้อ” กันครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น เราไปศึกษาพร้อมกันๆ เล้ยย!!

การรักษาด้วยการช๊อตหรือกระตุ้นไฟฟ้าเป็นอย่างไร?

การกระตุ้นไฟฟ้า ES (Electrical Stimulations)  คือ กาใช้ไฟฟ้าซึ่งเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในทางกายภาพบำบัด ไฟฟ้าสามารถทำให้เกิดผลต่อเนื้อเยื้อต่างๆของร่างกายได้ โดยเฉพาะเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ทั้งนี้ขึ้นกับ ชนิดของกระแสไฟฟ้า ความเข้มของกระแสไฟฟ้า ความถี่ของกระแสไฟฟ้า ตำแหน่งหรือบริเวณที่ติดขั้วไฟฟ้า และขนาดขั้วไฟฟ้า เป็นต้น

          ผลของการกระตุ้นไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องจะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของเส้นใยกล้ามเนื้อและเส้นประสาททั้ง ในระยะสั้น และระยะยาวโดยพบว่า การกระตุ้นไฟฟ้ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อในระดับเซลล์และโครงสร้างเซลล์ รวมถึงหน้าที่ของกล้ามเนื้อนั้นอีกด้วย 

กลไลการรักษาด้วยการ “กระตุ้นไฟฟ้า” ทำอย่างไร?

ตามปกติร่างกายของเราจะใช้โปรตีนในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย โดยโปรตีนจะถูกสังเคราะห์เพิ่มมากขึ้นเมื่อได้รับการกระตุ้นไฟฟ้า รวมทั้งประจุไอออน (เช่น Na+ , Ca++ , K+ ,Mg++) เมื่อถูกเหนี่ยวนำด้วยพลังงานไฟฟ้าจากภายนอก จะไปเร่งขบวนการเมตาบอลิซึม (Metabolism) และเร่งขบวนการลำเลียงสารอาหารเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งเส้นประสาทซึ่งตามปกติจะสามารถถูกเร้าต่อเมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่าน โดยเมื่อได้รับพลังงานไฟฟ้าจากภายนอก จะสามารถเร้าเส้นประสาทที่อยู่ส่วนปลายด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าผ่านผิวหนัง ทำให้เกิดการตอบสนองการตื่นตัวของเส้นประสาทได้ โดยทั้งนี้ขึ้นกับ ชนิดของกระแสไฟฟ้า ความเข้มของกระแสไฟฟ้า ความถี่ของกระแสไฟฟ้า ตำแหน่งหรือบริเวณที่ติดขั้วไฟฟ้า และขนาดขั้วไฟฟ้า เป็นต้น

การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้าในเชิงการบำบัดรักษานั้น สามารถแบ่งออกเป็นกี่ประเภท

การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้าสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1.Electrotherapy เป็นกลุ่มที่ว่าด้วยการใช้กระแสไฟฟ้าในการบำบัดรักษาโรค

2. Electro diagnosis เป็นการใช้กระแสไฟฟ้าในการกระตุ้นเพื่อการวินิจฉัยโรค โดยการแปลผลจากการตอบสนองของเส้นประสาท และกล้ามเนื้อ

3. Electromyography (EMG) เป็นการบันทึกการตอบสนองที่ได้จากการทำงานของ motor unit ออกมาในรูปของกระแสไฟฟ้า

ประโยชน์ของการรักษาด้วยการ “กระตุ้นไฟฟ้า”

– เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อที่มีเส้นประสาทไปเลี้ยง

– เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อที่ขาดเส้นประสาทไปเลี้ยง มีการบาดเจ็บของเส้นประสาท หรือเกิดการติดเชื้อของเส้นประสาท ให้ทำหน้าที่ได้

– เพื่อซ่อมแซมเนื้อเยื้อ

– เพื่อควบคุมการบวม

– เพื่อช่วยการเคลื่อนไหว หรือ เลียนแบบการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เอง

– เพื่อลดอาการปวด

– เพื่อผลักยาหรือสารเข้าสู่เซลล์

4 ประเภทของ การกระตุ้นด้วยไฟฟ้าในทางกายภาพบำบัด

●การกระตุ้นไฟฟ้าในกล้ามเนื้อที่ขาดเส้นประสาทมาเลี้ยง (Denervated muscle) เพื่อให้กล้ามเนื้อเกิดการหดตัว เรียกว่า Electrical muscle stimulation (EMS)

●TENS หรือ Trancutaneous electrical nerve stimulationใช้กระแสไฟฟ้าในการกระตุ้นเพื่อลดอาการปวด ซึ่งนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน การใช้กระแสไฟฟ้าในการลดปวด นอกจากจะจะใช้กระแส TENS ซึ่งนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางและเป็นเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าที่ผลิตขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถพบติดตัวไปใช้ได้ตลอดเวลา

●การกระตุ้นไฟฟ้าในกล้ามเนื้อที่มีเส้นประสาทเลี้ยง (Innervated muscle) เพื่อเพิ่มแรงหดตัวความแข็งแรง เรียกว่า Neuromuscular electrical stimulation (NMES)

●การกระตุ้นไฟฟ้าร่วมกับการออกกําาลังกายเพื่อเรียนรู้หน้าที่ใหม่(Electrical  stimulation for  muscle re-education

ภาพรวมของการรักษาด้วยการ “กระตุ้นไฟฟ้า” นั้น สามารถแก้ไขปัญหากล้ามเนื้อได้อย่างละเอียดและตรงจุด ทำให้กล้ามเนื้อมัดเล็กมักใหญ่ตรงบริเวณมัดที่มีปัญหาคลายและเพิ่มความยืดหยุ่นได้โดยกลไกการกระตุ้นของกระแสไฟฟ้าช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด, น้ำและธาตุอาหารของเซลล์กล้ามเนื้อทำให้ผู้ที่มีปัญหากล้ามเนื้อ รู้สึกเบาสบายตัวทันทีหลังการรักษาครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “การกระตุ้นไฟฟ้า” ที่เราได้นำมาฝากท่านผู้อ่านกันในวันนี้ครับ เราหวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ